เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 4. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง 2 นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง 2
นั้นอยู่ หรือบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่ามีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :179 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
6. โพชฌังคสากัจฉวรรค 5. สังคารวสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง 2 นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง 2
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่ามีอากิญจัญญายตนฌานเป็น
อย่างยิ่งสำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรม-
วินัยนี้”

เมตตาสหคตสูตรที่ 4 จบ

5. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์

[236] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยาย
เลย อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์
1. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :180 }